Diary no.2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2
วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560  เวลา 08.30 - 12.30

            การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   มาจาาก 3 คำหลัก คือ
1.  การจัดประสบการณ์
2.  คณิตศาสตร์
3.  เด็กปฐมวัย
     สามคำนี้ คำที่สำคัญที่สุดคือคำว่า "เด็กปฐมวัย" เพราะเด็กเป็นเป้าหมายสำคัญที่เราต้องจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาสติปัญญากับให้เด็กภายใต้พัฒนาการและวิธีการเรียนรู้ของตัวเด็กเอง และในการจัดการเรียนรูหรือจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยนั้น ไม่เพียงแต่การยึดหลักสูตรเพียงอย่างเดียว เรายังต้องยึดหลักทฤษฎีของนักจิตวิทยามาใช้ควบคู่กันอีกด้วย ซึ่งมีนักทฤษฎีที่ว่าด้วยพัฒนาการทางด้านสติปัญญาดังนี้
1. เพียเจต์
            ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้นซึ่งเราจะยกมาแค่สองขั้นที่เป็นอายุตามเกณฑ์ของเด็กปฐมวัยดังนี้
1. ขั้นพัฒนาการด้านประสาทสัมผัส (แรกเกิด - 2 ปี)
          - เรียนรู้ประสาทสัมผัส
          - จดจำสิ่งต่างๆ ลักษณะของวัตถุได้
2. ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล (2 - 7 ปี)
          - ใช้ภาษาพูดแสดงความรู้ ควาคิด
          - รู้จักคำที่บอกขนาด น้ำหนัก รูปทรง ความยาว
          - การเล่นบทบาทสมมติเป็นพื้นฐานของการพัฒนาความเข้าใจ
          - รู้จักสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้น เช่น ตัวเลข จำนวน อักษร คำที่มีความหมาย
             เพียเจต์เน้นการทำงานของสมองที่แตกไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้และการเอาตัวรอดได้โดย
1. การปรับความรู้เดิม
2. การเกิดความสมดุล
ถ้าเด็กอายุ  2 - 4 ปี จะตอบตามสิ่งที่ตนเห็น
แต่ถ้าเด็กอายุ 4 - 6 ปี จะเริ่มเข้าใจแบบนามธรรมมากขึ้น มีการใช้เหตุผล
          การพัฒนาความคิดเด็กจากการที่เด็กตอบตามสิ่งที่เห็นจนสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมมากขึ้นนั้น เราสามารถพัฒนาได้โดย
1. การนับ
2. การจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง
3. เปรียบเทียบรูปทรง ปริมาตร
4. เรียงลำดับ
5. การจัดกลุ่ม
            ในฐานะที่เราเป็นครูปฐมวัยเราต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้คิด ได้ลงมือกระทำ จับต้องได้จากสื่อของจริง ไม่ว่าจะผ่านการสอนหรือสอดแทรกลงในกิจกรรมทั้ง 6 หลัง โดยเฉพาะเกมการศึกษา

สิ่งที่ได้รับ
1. การแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันกับเพื่อนในชั้นและอาจารย์ผู้สอน
2. ทำให้เราได้เข้าใจพัฒนาการทางความคิดของเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น
3. ได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนความรู้

การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจเรียน
เพื่อน : ตั้งใจฟังครู จดความรู้ตลอดเวลาที่ครูพูด
อาจารย์ : ตั้งใจสอน กระตุ้นความคิดนักศึกษาจากการถามคำถามนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น