Diary no.6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา  8.30 -12.30


ความรู้เชิงคณิตศาสตร์ (ต่อ)

สาระที่ 3 : เรขาคณิต
          มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง ส่วน มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการรเปลี่ยนแปลงรูปทรงเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ เช่น
รูปทรงเรขาคณิตสามมิติ และรูปทรงเรขาคณิตสองมิติ
     - ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
     - รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม
     - การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
     - การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ
            เราสามารถสอนเด็กปฐมวัยให้เรียนรู้จากรูปทรงเรขาคณิตได้ด้วยการให้เด็กลงมือทำ อาจจะออกมาในรูปแบบเกมการศึกษา เรียนรู้เป็นหน่วย หรือการให้เด็กเล่นไม้บล็อกโดยการต่อตามจินตนาการได้ ซึ่งเด็กจะเรียนรู้และซึบซับความรู้ได้ดีถ้าเขาได้เล่นอย่างมีความสุข

รูปทรงเรขาคณิต

ไม้บล็อก
สาระที่ 4 : พีชคณิต
           มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจรูปและความสัมพันธ์ คือแบบรูปของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด หรือสี ที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น

คำถามจากรูป
   จากรูปทรงกลมที่ให้มา เราเห็นได้ว่ามีสองอย่างที่หายไป ซึ่งในเชิงพีชคณิตทำให้เราสามารถเข้าใจรูปและความสัมพันธ์ว่า รูปที่หายไป อันแรกคือวงกลมสีฟ้า อันที่สองต่อมาเป็นวงกลมสีชมพู ซึ่งเรารู้ได้อย่างไรว่าเป็นวงกลมสีฟ้าและสีชมพูที่หายไป เราดูจากอะไร คำตอบก็คือ ดูจากความสัมพันธ์ของรูปวงกลมทั้งข้างหน้าและข้างหลังก็จะทำให้เราได้มาซึ่งคำตอบ

คำตอบจากรูป
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
           มาตรฐาน ค.ป. 5.1รวมรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ โดยทางคณิตศาสตร์เราสามารถรวบรวมและนำเสนอออกมาในรูปของแผนภูมิอย่างง่ายๆ ได้
สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิศาสตร์
           ทักษะและกระบวนการทางคณิศาสตร์ คือการแก้ปัญหา การใช้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์


สิ่งที่ได้รับ
1. การแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันกับเพื่อนในชั้นและอาจารย์ผู้สอน
2. มีความรู้ ความเข้า ในเรื่องของการใช้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
3. ความรู้ในวันนี้เป็นแนวทางให้เรานำไปจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับเด็กปฐมวัย และสามารถพัฒนาความคิดให้เด็กมีพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ และสามารถใช้คณิตศาสตร์ง่ายๆ ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้


การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจเรียน
เพื่อน : ตั้งใจฟังครู จดความรู้ตลอดเวลาที่ครูพูด
อาจารย์ : ตั้งใจสอน ทำให้นักศึกษามีรับความรู้และความเข้าใจในเรื่องของทักษะคณิตศาสตร์มากขึ้นมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น