Diary no.3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560  เวลา 08.30 - 12.30

            พัฒนาการทำให้เรารู้เด็ก และสามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความสามารถของเขา เพราะการทำงานของสองตรงกับอายุเลยออกมาเป็นพัฒนาการทางสติปัญญา สมองมักมีการทำงานเป็นลำดับขั้นอย่างต่อเนื่อง เราจึงต้องใช้อายุมากำกับเพื่อที่จะได้เห็นถึงขั้นตอนของมัน และสมองจะทำงาน รับรู้ หรือสั่งการได้โดยเครื่องมือที่เด็กทุกคนมีคือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5
ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก คือ
ครั้งแรกจะซึมซับ+ความรู้เดิม -------->มีความรู้ใหม่ --->เรียนรู้---->มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม (ทำให้เรียนรู้เพื่อเกิดการอยู่รอด)
            ซึ่งพัฒนาการทางด้านสติปัญญานี้ เด็กก็จะมีความแตกต่างกัน ความสามารถในการเรียนรู้แตกต่างกัน เพราะการเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน สิ่งแวดล้อม พันธุกรรม รวมไปถึงวุฒิภาวะอีกด้วย
            ในวันนี้เราจะอิงนักทฤษฎีสองคนคือ
1. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
บรูเนอร์ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์ออกเป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
       - ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
       - ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
       - ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
2. ไวก็อตสกี้
         เขาเชื่อว่าเด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในสภาพแวดล้อมของเขาจากความร่วมมือของเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน การมองดู (Peer)เป็นกระบวนการที่สนับสนุนและเพิ่มพูนพัฒนาการ ทำให้พัฒนาการเกิดการเปลี่ยนแปลงจากภายใน เด็กจะมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดกัน มีความชอบที่ไม่เหมือนกัน จึงเกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน นั่นคือ เด็กที่กำลังจะก้าวข้ามไปข้างขน้า และประสบความสำเร็จในระดับสูงขึ้น ต้องได้รับคงามช่วยเหลือหรือกระตุ้นให้เด็กมี "สมรรถนะ" เด็กจึงจะได้พัฒนาแนวคิดใหม่ๆ โดยที่ครู ผู้ปกครอง และทุกๆ คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเด็ก จากแนวทฤษฎีนี้เราจึงนำมาจัดกิจกรรมให้มีการพูดคุย สนทนา
         เขาเชื่อว่าความร่วมมือระหว่างครูกับเด็ก ผู้ปกครองกับเด็ก ทำให้เด็กสามารถใช้แนวคิดที่ได้เรียนรู้จากกระบวนการดังกล่าวในการแก้ปัญหาหลังจากที่ไม่มีครูคอยช่วยเหลืออีกต่อไป
         เรารู้แล้วว่าการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านการลงมือกระทำกับวัตถุโดยเลือและตัดสินใจอย่างอิสระนี้เรียกว่า "การเล่น" เพราะการเล่นเป็นวิธีการเรียนรู้หรือวิธีการที่จะเกิดการเรียนรู้ เมื่อเรารู้แล้วว่าเด็กเป็นอย่างไรเราก็นำมาจัดประสบการณ์ด้วยวิธีการที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก

สิ่งที่ได้รับ
1. การแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันกับเพื่อนในชั้นและอาจารย์ผู้สอน
2. ทำให้เราได้เข้าใจพัฒนาการทางความคิดของเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น
3. ได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนความรู้

การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจเรียน
เพื่อน : ตั้งใจฟังครู จดความรู้ตลอดเวลาที่ครูพูด
อาจารย์ : ตั้งใจสอน กระตุ้นความคิดนักศึกษาจากการถามคำถามนักศึกษาได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น