Diary no.7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา  8.30 -12.30

           วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาไปดูนิทรรศการที่พี่ปี 5 สาขาการศึกษาปฐมวัยจัดขึ้นเกี่ยวกับ "สื่อนวัตกรรมการสอน" โดยจะมีหัวข้อให้ได้ศึกษากัน คือ
     1. สื่อการสอน
     2. งานวิจัย
     3. แผนการจัดการเรียนรู้
     4. นวัตกรรมการสอน
    
สื่อการสอน 
            สื่อที่ใช้ในการสอนเด็กต้องเป็นสิ่งที่ให้เด็กเรียนรู้และพัฒนาเด็กได้ครบทั้ง 4 ด้าน ต้องเป็นสื่อที่มีความปลอดภัย เด็กสามารถจับต้องได้ และที่สำคัญคือต้องดึงดูดความสนใจของเด็ก โดยที่ขนาดและรูปทรงก็ต้องเหมาะกับมือของเด็กและวัยของเด็กด้วย โดยสื่อที่พี่ปี 5 ได้นำเสนอคือ สื่อการนับเลข 1-10 จากพิซซ่า สื่อการบวกเลขจากต้นส้ม สื่อการเรียนรู้เรื่องระบบสุริยะ นิทาน และสื่อที่เกี่ยวกับทักษะทางคณิตศาสตร์อีกมากมาย
นับเลข 1-10
ระบบสุริยะ
การบวกเลข
สื่อที่พัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์
งานวิจัย
            งานวิจัยที่รุ่นพี่ปี 5 ได้นำเสนอนี้ก็เพื่อที่จะนำเครื่องมือมาใช้กับการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก


แผนการจัดการเรียนรู้
             แผนการจัดการเรียนรู้นั้นจะชี้ให้เห็นว่าในการจัดการเรียนรู้ของไม่ว่าจะเป็น สช. กทม. สพฐ. รัฐบาลและเอกชนก็จะมีความแตกต่างกัน มีวิธีการเขียนแผนการสอนที่แตกต่างกัน แต่จะเน้นการส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กเหมือนกัน โดยให้เป็นความรู้ว่าการสอนในระดับปฐมวัยไม่ใช่การสอนที่เน้นให้เด็กอ่านออกเขียนได้ แต่เป็นการสอนที่เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างมีจุดหมาย โดยที่เด็กจะต้องได้พัฒนาทักษะครบทั้ง 4 ด้านคือด้านร่างการ อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา และเพื่อวางรากฐานให้เด็กได้ฝึกคิด ค้นคว้าหาความรู้ มากกว่าการท่องจำ กขค หนึ่งวันอาทิตย์สีแดง เป็นต้น

แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้
นวัตกรรมการสอน
             นวัตกรรมการสอนที่นำมาใช้คือ การเรียนแบบโครงการ Project Approach โดยการสอนแบบโครงการจะดำเนินการเป็น 3 ระยะ ได้แก่
     ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น เป็นขั้นตอนที่เด็กและครูร่วมกันอภิปรายเพื่อเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำการสืบค้น โดยที่ต้องเป็นเรื่องที่เด็กสนใจ ประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของเด็ก
     ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา เป็นขั้นตอนของการดำเนินโคตรงการตามแผนที่กำหนด ระยะนี้ถือเป็นหัวใจของโครงการ ครูจะเป็นผู้จัดหา จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้เด็กสืบค้น ไม่ว่าจะเป็นของจริง หนังสือ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ หรือแม้แต่การออกไปศึกษานอกสถานที่หรือนัดหมายผู้เชี่ยวชาญ วิทยากรท้องถิ่น เพื่อให้เด็กทำการสืบค้นสังเกตอย่างใกล้ชิดและบันทึกสิ่งที่พบเห็น
     ระยะที่ 3 ระยะสรุป เป็นระยะสรุปเหตุการณ์ รวมถึงการเตรียมการเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดง การค้นพบ และจัดทำสิ่งต่างๆ สนทนา เล่นบทบาทสมมติ


ระยะที่  1  เริ่มต้นโครงการ  เป็นขั้นตอนที่เด็กและครูร่วมกันอภิปรายเพื่อเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำการสืบค้น  โดยให้หลักเกณฑ์ดังนี้
  1. เป็นหัวข้อที่เด็กทุกคนหรือเด็กส่วนใหญ่ของกลุ่มสนใจ  สัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิตประจำวันของเด็ก
  2. เป็นทักษะพื้นฐานของภาษา  คณิตศาสตร์  และสามารถบูรณาการวิทยาศาสตร์และศิลปะเข้าด้วยได้
  3. เป็นเรื่องทีเด็กมีโอกาสร่วมมือกันทำงาน  ลงมือปฏิบัติ  นำมาเล่นสมมติและให้ทักษะต่าง  ๆ  จากการเรียนรู้ได้
ระยะที่  2  วางแผนโครงการ  เป็นขั้นตอนการกำหนดจุดประสงค์  ขอบเขตเนื้อหาที่ต้องการศึกษา
ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
                ระยะที่  3  ดำเนินการ  เป็นขั้นตอนของการดำเนินโคตรงการตามแผนที่กำหนด   ระยะนี้ถือเป็นหัวใจของโครงการ  ครูจะเป็นผู้จัดหา  จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้เด็กสืบค้น ไม่ว่าจะเป็นของจริง  หนังสือ  วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  หรือแม้แต่การออกไปศึกษานอกสถานที่หรือนัดหมายผู้เชี่ยวชาญ  วิทยากรท้องถิ่น  เพื่อให้เด็กทำการสืบค้นสังเกตอย่างใกล้ชิดและบันทึกสิ่งที่พบเห็น  อาจมีการเขียนภาพที่เกิดจากการสังเกต  จัดทำกราฟ  แผนภูมิไดอะแกรม  หรือสร้างแบบต่างๆ  สำรวจ  คาดคะเน  มีการอภิปราย เล่นบทบาทสมมติเพื่อแสดงความเข้าใจในความรู้ใหม่ที่ได้
                ระยะที่  4  สรุปผลโครงการ  เป็นระยะสรุปเหตุการณ์  รวมถึงการเตรียมการเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดง  การค้นพบ  และจัดทำสิ่งต่างๆ  สนทนา  เล่นบทบาทสมมติ หรือจัดนำชมสิ่งที่ได้จากการก่อสร้าง  ครูจะจัดให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเรียนรู้กับผู้อื่น  เด็กสามารถช่วยกันเล่าเรื่องการทำโครงการให้ผู้อื่นฟัง  โดยจัดแสดงสิ่งที่เป็นจุดเด่นให้เพื่อนในชั้นเรียนอื่น  ครู  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  และ ผู้บริหารได้เห็น  ครูจะช่วยเด็กเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาแสดง  ซึ่งการทำเช่นนี้เท่ากับช่วยให้เด็กทบทวนและประเมินโครงการทั้งหมด  ครูอาจเสนอให้เด็กได้จินตนาการความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านทางศิลปะ ทางละคร  สุดท้ายครูนำความคิดและความสนใจของเด็กไปสู่การสรุปโครงการ และอาจนำไปสู่หัวเรื่องใหม่ของโครงการต่อไป
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/499448
เป็นขั้นตอนที่เด็กและครูร่วมกันอภิปรายเพื่อเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำการสืบค้น  โดยให้หลักเกณฑ์ดังนี้
  1. เป็นหัวข้อที่เด็กทุกคนหรือเด็กส่วนใหญ่ของกลุ่มสนใจ  สัมพันธ์กับประสบการณ์ชีวิตประจำวันของเด็ก
  2. เป็นทักษะพื้นฐานของภาษา  คณิตศาสตร์  และสามารถบูรณาการวิทยาศาสตร์และศิลปะเข้าด้วยได้
  3. เป็นเรื่องทีเด็กมีโอกาสร่วมมือกันทำงาน  ลงมือปฏิบัติ  นำมาเล่นสมมติและให้ทักษะต่าง  ๆ  จากการเรียนรู้ได้
ระยะที่  2  วางแผนโครงการ  เป็นขั้นตอนการกำหนดจุดประสงค์  ขอบเขตเนื้อหาที่ต้องการศึกษา
ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
                ระยะที่  3  ดำเนินการ  เป็นขั้นตอนของการดำเนินโคตรงการตามแผนที่กำหนด   ระยะนี้ถือเป็นหัวใจของโครงการ  ครูจะเป็นผู้จัดหา  จัดเตรียมแหล่งข้อมูลให้เด็กสืบค้น ไม่ว่าจะเป็นของจริง  หนังสือ  วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ  หรือแม้แต่การออกไปศึกษานอกสถานที่หรือนัดหมายผู้เชี่ยวชาญ  วิทยากรท้องถิ่น  เพื่อให้เด็กทำการสืบค้นสังเกตอย่างใกล้ชิดและบันทึกสิ่งที่พบเห็น  อาจมีการเขียนภาพที่เกิดจากการสังเกต  จัดทำกราฟ  แผนภูมิไดอะแกรม  หรือสร้างแบบต่างๆ  สำรวจ  คาดคะเน  มีการอภิปราย เล่นบทบาทสมมติเพื่อแสดงความเข้าใจในความรู้ใหม่ที่ได้
                ระยะที่  4  สรุปผลโครงการ  เป็นระยะสรุปเหตุการณ์  รวมถึงการเตรียมการเสนอรายงานและผลที่ได้ในรูปของการจัดแสดง  การค้นพบ  และจัดทำสิ่งต่างๆ  สนทนา  เล่นบทบาทสมมติ หรือจัดนำชมสิ่งที่ได้จากการก่อสร้าง  ครูจะจัดให้เด็กได้แลกเปลี่ยนสิ่งที่ตนเรียนรู้กับผู้อื่น  เด็กสามารถช่วยกันเล่าเรื่องการทำโครงการให้ผู้อื่นฟัง  โดยจัดแสดงสิ่งที่เป็นจุดเด่นให้เพื่อนในชั้นเรียนอื่น  ครู  พ่อแม่  ผู้ปกครอง  และ ผู้บริหารได้เห็น  ครูจะช่วยเด็กเลือกวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำมาแสดง  ซึ่งการทำเช่นนี้เท่ากับช่วยให้เด็กทบทวนและประเมินโครงการทั้งหมด  ครูอาจเสนอให้เด็กได้จินตนาการความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านทางศิลปะ ทางละคร  สุดท้ายครูนำความคิดและความสนใจของเด็กไปสู่การสรุปโครงการ และอาจนำไปสู่หัวเรื่องใหม่ของโครงการต่อไป
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/499448




           ทั้งนี้ยังได้นำหลักการสอนแบบ STEM เข้ามาช่วยในการสอนให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้น โดย STEMนั้นจะประกอบไปด้วย
      Science (วิทยาศาสตร์)
      Technology (เทคโนโลยี)
      Engineering (วิศวกรรมศาสตร์)
      Mathematics (คณิตศาสตร์)

สิ่งที่ได้รับ
1. ได้มาแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันกับเพื่อนในชั้นและรุ่นพี่สาขาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 5
2. ได้เห็นถึงกระบวนการในการสอนมากยิ่งขึ้น
3. ความรู้ในวันนี้เป็นแนวทางให้เรานำไปจัดกิจกรรมการสอนหรือการจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับเด็กปฐมวัยมากยิ่งขึ้น

การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจศึกษาดูงาน
เพื่อน : ตั้งใจฟังรุ่นพี่นำเสนอ บางคนมีการจดบันทึก ถ่ายรูป
อาจารย์ :ขอบคุณอาจารย์ที่นำนักศึกษามาศึกษาดูงาน ทำให้นักศึกษาได้เห็นการจัดการเรียนแบบของจริงและได้รู้อะไรต่างๆ อีกมากมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น