สรุปบทความ เลี้ยงลูกอย่างไร "ให้คิดเป็น"
บทความส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
โดย : รองศาสตราจารย์ ดร.นภเนตร ธรรมบวร อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
ฉนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรรักลูกให้ถูกวิธี คอยให้กำลังใจ สนับสนุน
และให้โอกาสเขาได้ลองทำสิ่งต่างๆ แล้วลูกของคุณจะกลายเป็นเด็กที่ "คิดเป็น"
ค่ะ
จากหนังสือ : ๗๐ปี โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ
พ่อแม่ส่วนใหญ่มักจะเชื่อมโยงคำว่า "เรียนเก่ง" กับ "คิดเป็น" เข้าด้วยกัน โดยเชื่อว่า
ถ้าลูกเรียนหนังสือเก่งแล้ว ลูกจะสามารถคิดเป็นด้วย
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คำว่า “เรียนเก่ง” กับคำว่า “คิดเป็น”
นั้นไม่ได้ไปด้วยกันเลย บางครั้งคนที่เรียนเก่งอาจไม่จำเป็นต้องคิดเป็น
หรือคนที่คิดเป็นอาจไม่จำเป็นต้องเป็นคนเรียนเก่งก็ได้
ซึ่งตัวอย่างก็มีปรากฏให้พบเห็นอยู่ไม่น้อยในสังคมไทยปัจจุบัน เช่น
การที่บุคคลที่มีการศึกษาสูง ซึ่งเรามักยกย่องว่าเป็นคนเรียนดี
เรียนเก่งแล้วแก้ปัญหาชีวิตของตนโดยการเบียดเบียน
หรือทำร้ายชีวิตทั้งของตนเองและผู้อื่น
คำถามสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่คงไม่ใช่คำถามที่ว่า
“ทำอย่างไรให้ลูกเรียนเก่ง” แต่น่าจะเป็นคำถามที่ว่า
“ทำอย่างไรให้ลูกคิดเป็น
และสามารถใช้ชีวิตในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่มีแต่ความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข”
มากกว่า และการที่จะส่งเสริมให้ลูกคิดเป็นนั้น
คุณพ่อคุณแม่ควรจะต้องปฏิบัติตามแต่ละข้อ ดังต่อไปนี้
เปิดโอกาสให้ลูกคิด และตัดสินใจด้วยตนเองบ้าง
1. เปิดโอกาสให้ลูกได้เผชิญกับปัญหาหรือความยากลำบากในชีวิตบ้าง เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วคนไทยเลี้ยงลูกแบบประคบประหงม
ทำให้ลูกแทบจะทุกอย่าง มักแก้ปัญญาให้ลูกเพียงเพราะคำว่า "ลูกยังเล็กอยู่
ยังทำไม่ได้" ซึ่งในหลักความเป็นจริงแล้วเด็กก็ทำอะไรได้เหมือนกัน
เพียงแต่เราต้องให้เวลา ให้โอกาศเขา
และคุณพ่อคุณแม่ต้องลองให้ลูกเผชิญและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง
เขาจะได้เกิดการเรียนรู้และรู้จักแก้ปัญหาที่แท้จริง
2. ส่งเสริมให้ลูกมีความรับผิดชอบ โดยการหัดให้เขาได้รับผิดชอบสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง
3. ฝึกให้ลูกได้ช่วยงานบ้าน งานบ้านสำหรับเด็กควรเป็นงานที่ง่าย เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน รถน้ำต้นไม้เป็นต้น
4. ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของลูก ข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุด
เพราะโดยธรรมชาติของเด็กแล้วจะชั่งถาม ช่างสังเกต
พ่อแม่ชอบบ่นลูกเมื่อเวลาลูกถามว่า "รำคาญ" "ถามไรเยอะแยะ"
"อย่าถามมากได้มั้ย" คำพูดเหล่านี้แหละที่จะปิดกั้นความคิดของเด็ก
เพราะเมื่อพ่อแม่ตอบกลับมาแบบนั้น ลูกก็จะคิดว่าตนเองผิด การถามมากไม่ดี
เค้าก็จะไม่กล้าถาม และไม่ได้รูในสิ่งที่เขาอยากรู้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น