สรุปงานวิจัยด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH – 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทาคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ปริญญานิพนธ์ : เชวง ซ้อนบุญ
เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย พฤษภาคม 2554
MATH – 3C มาจากแนวความคิดของนักทฤษฎี ดังนี้
1. การกระตุ้นความสนใจ (Motivation : M)
2. หลักการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ (Active Learning : A)
3. ทฤษฎีการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning : T)
4. หลักการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Constructive Learning : C)
5. แนวคิดของ หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning : C)
กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของรูปแบบ การเรียนการสอนแบบ MATH – 3C
เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเน้นให้เด็กสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองตามระดับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
เด็กสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุขและสนุกสนานจากความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
การตัดสินใจเลือกเล่น และการทำกิจกรรมด้วยตนเอง
เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบัติกับวัตถุจริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและมีโอกาสสะท้อนผลของการกระทำนั้นด้วย
วิธีการที่เด็กสนใจและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
ประกอบกับมีความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่
เด็กสามารถเรียนรู้ได้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนแบบ MATH – 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH – 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน ระหว่าง
และ หลังการใช้ รูปแบบ การเรียนการสอนแบบ MATH – 3C
เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนแบบ MATH – 3
เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 5 - 6 ปี
มีขอบเขตการวิจัยดังนี้
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรในระยะการศึกษาประสิทธิภาพและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH – 3C ประกอบด้วย
1. นักเรียนชาย - หญิงอายุ 5-6 ปี ที่ก
าลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่2ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา 2553
โรงเรียนอนุบาลชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1
2.
ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง5-6
ปีภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1
ตัวแปรที่ศึกษา
ทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 8
ทักษะประกอบด้วยทักษะการเปรียบเทียบ การจัดประเภท การจับคู่ การเรียงล
าดับ การนับ การรู้ค่าจำนวน การวัด และการบอกตำแหน่ง
สมมติฐานการวิจัย
หลังจากได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ
MATH – 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งรายด้านและโดยรวมทั้ง 8
ทักษะสูงกว่าทั้งก่อนการทดลองและระหว่างการทดลอง
และระหว่างการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น